ภก.วัชรพงษ์ แจ่มสว่าง
ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
และเภสัชอุตสาหกรรมคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำจัด สิ่งแปลกปลอม สารคัดหลั่ง หรือสิ่งระคายเคืองต่างๆ เช่น ควันพิษ เสมหะ เชื้อโรค ให้ออกจากระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาการไอจะสามารถบอกถึงสภาวะของคนไข้นั้นๆได้ เนื่องจากลักษณะของการไอในบางโรคจะมีอาการเฉพาะที่แตกต่างจากการไอทั่วไป เช่น การไอพร้อมกับหอบเหนื่อยจากการเป็นวัณโรค การไอที่มีเสมหะสีเขียวข้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาอาการไออยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม หลักๆ คือ
1.ยาที่กดการไอทำให้หยุดไอ เช่น Dextrometrophan ยากลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไอแห้ง ไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีเสมหะเพราะอาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ
2.ยาละลายเสมหะ เช่น Bromhexine, Acetylcysteine ยากลุ่มนี้จะทำให้เสมหะที่เหนียวข้นอ่อนตัวลงสามารถขับออกจากลำคอได้ง่ายขึ้น
3.ยาขับเสมหะ เช่น Glyceryl guaiacolate จะเพิ่มการหลั่งของเหลวเพื่อให้เสมหะอ่อนตัวลงและถูกขับออกมาง่ายขึ้น ทั้งนี้หากคนไข้ มีเพียงแค่อาการไอเล็กๆน้อยๆ ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แค่เพียงใช้ยาอมเพื่อให้ชุ่มคอ หรือ จิบน้ำอุ่นๆ ก็สามารถบรรเทาอาการไอได้แล้ว
อย่างไรก็ตามพบว่าในปัจจุบันยาอมสำหรับบรรเทาอาการไอในท้องตลาดมีขายอยู่ค่อนข้างหลากหลายชนิด เช่น ทั้งรูปแบบยาเม็ดอมแบบแข็ง(Lozenges) หรือยาเม็ดอมแบบนิ่ม(Pastilles) ซึ่งยาอมเหล่านี้ทำมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ชนิดอมให้เกิดความชุ่มคอ ชนิดผสมยาชาบรรเทาอาการเจ็บคอ ผสมยาละลายเสมหะหรือชนิดผสมยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะยาอมชนิดผสมยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เกิดโอกาสเชื้อดื้อยาได้ง่ายหาก คนไข้นำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งหากมีการติดเชื้อมักจะนิยมให้ยาฆ่าเชื้อชนิดรับประทานมากกว่าเพื่อให้ระดับยาในเลือดสูงพอที่จะฆ่าเชื้อได้ ดังนั้นการเลือกซื้อยาอมที่เหมาะสมจึงควรเลือกใช้ยาอมที่ไม่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ หรือเลือกใช้ยาอมที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรก็เพียงพอต่อการใช้บรรเทาอาการไอได้
สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการไอมีอยู่หลายชนิด เช่น
ปัจจุบันยาที่มาจากสมุนไพรเหล่านี้ มีอยู่ในรูปแบบที่รับประทานง่าย รสชาติดี สะดวกในการพกพา ทั้งในรูปแบบยาอม(Pastill) หรือยาน้ำจิบแก้ไอ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่คิดจะเลือกซื้อยาบรรเทาอาการไอทุกครั้ง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรเสมอ เพราะอาการไอมาจากหลายสาเหตุ เพื่อที่จะได้ใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสม
16 สิงหาคม 2562
ผู้ชม 22968 ครั้ง